Daday Viet Thanh Health,Medical เมื่อไรที่ควรไปทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม บ่งบอกได้ด้วยอาการเหล่านี้

เมื่อไรที่ควรไปทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม บ่งบอกได้ด้วยอาการเหล่านี้

กายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม

ช่วงเวลานี้คำว่า “ออฟฟิศซินโดรม” ไม่ใช่คำใหม่ที่คนไม่รู้จักอีกแล้ว เพราะด้วยวิถีชีวิตและแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ทุกคนรู้จักอาการออฟฟิศซินโดรมมากขึ้น รวมถึงการหาวิธีทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรมเพื่อรักษา ก็กลายเป็นหัวข้อยอดนิยมสำหรับวัยทำงานอีกด้วย ซึ่งอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมก็มีหลายแบบ หลายระดับ ทุกคนจึงควรรู้จักอาการตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้นจนต้องอาศัยการทำกายภาพ

สาเหตุที่ควรหลีกเลี่ยง ก่อนมีอาการที่ต้องทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม

              ออฟฟิศซินโดรมคือโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บปวดตามระบบกล้ามเนื้อและไขข้อต่าง ๆ เช่น ปวดคอ บ่า และไหล่ ปวดหลัง ปวดขา และอาจมีอาการชาและอาการอ่อนล้าร่วมด้วย อาการเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวเท่าที่ควร เมื่ออยู่ในสภาพดังกล่าวโดยไม่แก้ไข จะทำให้อาการปวดสะสมจนเรื้อรัง เมื่ออาการปวดเริ่มเรื้อรังแล้ว ก็ต้องทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรมในที่สุด โดยสาเหตุของการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  1. การนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถเกิน 1 ชั่วโมง
  2. การใช้โต๊ะ เก้าอี้ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำงานที่ไม่เหมาะสมกับร่างกาย
  3. มีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น หลังค่อม ไหล่ห่อขณะพิมพ์งานตลอดเวลา จ้องจอใกล้เกินไป เป็นต้น
  4. ขาดการออกกำลังกาย การบริหารกล้ามเนื้อ และไม่มีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

อาการระยะเริ่มต้น ไปจนถึงอาการที่ต้องทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม

              อาการปวดเมื่อยตามร่างกายอาจเป็นอาการที่ใครหลายคนมองว่าธรรมดา เป็นไม่นานปล่อยไว้เดี๋ยวก็หาย รู้ตัวอีกทีก็ต้องทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรมเสียแล้ว ดังนั้นหากมีสัญญาณตั้งแต่ระยะเริ่มต้นดังต่อไปนี้ ควรให้ความใส่ใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนมีอาการปวดแบบเรื้อรัง และมีอาการอื่น ๆ ตามมา

ระยะเริ่มต้น เป็น ๆ หาย ๆ

หากรู้ตัวว่าเริ่มมีอาการออฟฟิศซินโดรมในระยะนี้ ไม่ควรปล่อยให้อาการหายไปเองจนเป็นนิสัย แต่ให้เริ่มสังเกตร่างกายตัวเองว่า มีอาการที่จุดไหนบ่อย ๆ สังเกตสิ่งแวดล้อมและอิริยาบถของตัวเองให้มากขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการในระดับที่รุนแรงขึ้น

ระยะปานกลาง เริ่มปวดเป็นเวลานาน

อาการในระยะนี้ต้องอาศัยการรักษาที่ทำได้เองจึงจะทุเลาลง ไม่ว่าจะเป็นการบีบนวด การใช้ยาแก้ปวดแบบต่าง ๆ แต่เมื่อทำแล้วไม่นานก็จะกลับมาปวดอีก แต่ถ้ายังไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอาจยังไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม แต่ให้หาเวลาบริหารร่างกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็ยังพอช่วยแก้ไขได้

ระยะรุนแรง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการในระยะนี้อาจปวดจนถึงขั้นนอนไม่หลับ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เริ่มชาตามปลายนิ้วมือ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัวแบบปวดไมเกรน ปวดร้าวบริเวณรอบดวงตา หากมีอาการในระยะนี้แล้วยังละเลย อาจทำให้เป็นโรครุนแรงเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ จึงควรปรึกษาแพทย์และทำกายภาพบำบัดจะดีที่สุด

จะเห็นได้ว่าการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมนั้นยังทำด้วยตัวเองได้ หากรู้ตัวเร็วและยังมีอาการอยู่ในระยะเริ่มต้น ทั้งนี้หากอาการดังกล่าวเริ่มรุนแรงขึ้น แนะนำว่าควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม ก่อนจะมีอาการรุนแรงจนต้องพึ่งพาการผ่าตัดรักษา ดังนั้นการใส่ใจอาการเจ็บปวดของร่ายกายอยู่เสมอจึงเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ตั้งแน่เนิ่น ๆ ที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ